ช่องทางรับฟังความคิดเห็น     คลังเอกสาร     คำถามที่พบบ่อย     ถาม-ตอบ      มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี    

การให้บริการทรัพยากรสารสนเทศ และทรัพยากรการเรียนรู้ในสถานการณ์ Covid-19 by ฝ่ายหอสมุดฯ

ชื่อผลงาน : การให้บริการทรัพยากรสารสนเทศ และทรัพยากรการเรียนรู้ในสถานการณ์ Covid-19

         ผู้ถ่ายถอด : ฝ่ายหอสมุด หน่วยงาน ส านักวิทยบริการ  ถ่ายทอด : วันที่ 9 กันยายน 2564
   

1.บทคัดย่อ

     ในช่วงวิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อ Covid-19 หลาย ๆ หน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินงานในแต่ละหน่วยงาน ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานด้านการเรียนการสอนหรือหน่วยงานสนับสนุนอย่างสำนักวิทยบริการเอง ตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดทำให้การใช้พื้นที่ถูกจำกัด ทำให้เราต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการให้บริการเป็นแบบออนไลน์มากขึ้นเพื่อลดการให้บริการแบบที่ต้องพบปะกัน เราจึงได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการให้บริการขึ้นมาใหม่ รวมทั้งให้บริการทรัพยากรการเรียนรู้ที่อำนวยความสะดวกต่อการเรียนการสอนในรูปแบบออนไลน์ เพื่อให้การบริการมีความต่อเนื่องและผู้ใช้ไม่เสียโอกาสในการใช้บริการ โดยเราได้จัดให้มีบริการยืมโน้ตบุ้กและไอแพดเพื่อใช้ประกอบการเรียนออนไลน์สำหรับนักศึกษา การให้บริการจัดเตรียมตัวเล่มเพื่อการยืมออนไลน์ การให้บริการจัดส่งทรัพยากรแก่อาจารย์และบุคลากร การให้บริการอบรมการรู้สารสนเทศในรูปแบบออนไลน์และการติดตั้งตู้คืนหนังสืออัตโนมัติที่บริเวณอาคารเรียนรวม 5 (CLB5) การประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทาง Library 4 U โดยทุกบริการที่สำนักวิทยบริการได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบมีวัตถุประสงค์หลักคือเพื่อให้สามารถให้บริการผู้ใช้บริการได้อย่างต่อเนื่องแม้อยู่ภายใต้ข้อจำกัดของสถานการณ์ สร้างความพึงพอใจและผลประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ใช้บริการนั่นเอง

2. บทนำ

     ในช่วงวิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา หรือโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบต่อการเรียนการสอนภายในมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีรวมทั้งมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทั่วประเทศ ทุกหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยต้องมีการปรับรูปแบบการเรียนการสอน การบริการเพื่อให้สอดคล้องกับมาตรการการเฝ้าระวังการแพร่ระบาดตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด ทั้งในส่วนของการเรียนการสอนออนไลน์ การเรียนการสอนแบบผสมผสาน การงดให้บริการพื้นที่ การปฏิบัติงานนอกที่ตั้ง (Work from home) ซึ่งแน่นอนว่าสิ่งเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อประชาคมมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ทั้งอาจารย์ บุคลากรและนักศึกษาที่ล้วนแต่เป็นผู้ใช้บริการของสำนักวิทยบริการทั้งสิ้น

     ด้วยเหตุผลดังกล่าว จะเห็นได้ว่าสำนักวิทยบริการได้มีข้อจำกัดในการให้บริการมากขึ้น ทั้งในด้านบุคลากร สถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก เพื่อให้การบริการป็นไปอย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับสถานการณ์และตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการภายใต้ข้อจำกัดที่เพิ่มมากขึ้น ดังนั้นสำนักวิทยบริการจึงได้ปรับรูปแบบการให้บริการด้วยการจัดกิจกรรมและสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ให้กับผู้ใช้บริการเพื่อพัฒนาบริการต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น

3. วัตถุประสงค์
     สำนักวิทยบริการได้จัดการให้บริการในยุค Covid-19 ขึ้นเพื่อปรับรูปแบบการบริการให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน ให้บริการได้อย่างต่อเนื่องแม้จะอยู่ภายใต้ขีดจำกัดทั้งด้านบุลากร อาคารและสถานที่ รวมถึงเพื่อตอบสนองความต้องการและสร้างความพึงพอใจแก่ผู้ใช้บริการ
 
4.วิธีการ ขนาด เครื่องมือ
     4.1 การบริการ โน้ตบุ้ก/ไอแพด แก่นักศึกษา เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนในระบบออนไลน์ สำนักวิทยบริการจึงได้จัดหาโน้ตบุ้กและไอแพดมาเพื่อให้บริการประกอบการเรียนออนไลน์ของนักศึกษา โดยเริ่มให้บริการตั้งแต่วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2564 เป็นต้นมา ในระยะแรกสำนักวิทยบริการได้เปิดให้ใช้เฉพาะวันจันทร์-ศุกร์ ในเวลาราชการและใช้ภายในห้องสมุดเท่านั้น แต่เมื่อสถานการณ์เริ่มทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น ทางสำนักวิทยบริการจึงพัฒนารูปแบบการให้บริการโน้ตบุ้กและไอแพดด้วยการให้บริการยืมใช้ภายนอกห้องสมุดได้ โดยสามารถยืมได้เพียง 1 รายการ เป็นเวลา 7 วันและสามารถยืมต่อได้ 1 ครั้งเป็นเวลา 7 วันเช่นกัน (หากไม่มีผู้ใช้บริการอื่นจองใช้ต่อ) สำนักวิทยบริการได้พัฒนาวิธีการยืม - คืนโน้ตบุ้ก/ ไอแพด ด้วยการนำโน้ตบุ้กและไอแพดลงรายการในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Walai AutoLib ทำให้สามารถ สืบค้น ตรวจสอบ จองใช้ และให้บริการยืมคืนทรัพยากรผ่านระบบห้องสมุดอัตโนมัติ เพื่อให้การบริหารจัดการอุปกรณ์ต่าง ๆ เป็นไปอย่างถูกต้อง สะดวก รวดเร็วและแม่นยำ
     4.2 บริการจัดเตรียมตัวเล่มเพื่อการยืมทรัพยากรแบบออนไลน์ (Pre-order) จากเดิมที่ผู้ใช้บริการต้องมาสืบค้น และหาหนังสือเองบนชั้นจากนั้นหยิบตัวเล่มที่ต้องการลงมายืมที่เคาน์เตอร์ยืมคืน สำนักวิทยบริการได้มีการปรับรูปแบบเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้บริการที่ต้องการยืมทรัพยากรสารสนเทศในช่วงที่สำนักวิทยบริการงดให้ริการพื้นที่และบุคคลากรสำนักวิทยบริการต้องปฏิบัติงานนอกที่ตั้งหรือ Work from home เป็นงานที่พัฒนามาจากงานยืมคืนทรัพยากรสารสนเทศ ด้วยการให้ผู้ใช้บริการแจ้งรายการหนังสือที่ต้องการเข้ามาทางแบบฟอร์มออนไลน์ที่สร้างขึ้นด้วย google Form ซึ่งมีให้บริการไว้บน web site สำนักวิทยบริการ (www.oar.ubu.ac.th) หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่จะตรวจสอบข้อมูล ค้นหาหนังสือตามที่แจ้งเข้ามาเพื่อมาทำรายการยืมตามชื่อของผู้ใช้บริการที่กรอกแบบฟอร์มเข้ามาและจะแจ้งให้ผู้ใช้บริการมารับทรัพยากรที่ต้องการที่จุดรับทรัพยากรบริเวณด้านหลังอาคารตรงโต๊ะเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของอาคาร ซึ่งจะช่วยลดขั้นตอนของผู้ใช้บริการได้ ดังภาพ
รูปที่ 1 แสดงการเปรียบเทียบขั้นตอนการใช้บริการยืม ณ ที่ตั้ง กับแบบ Pre-Order
 
และการให้บริการในอนาคตมีแผนจะพัฒนาเป็น OAR Drive thruต่อไป
     4.3 บริการส่งทรัพยากร (Document Delivery for You - DD4U) เป็นบริการที่พัฒนาขึ้นมาจากบริการในข้อ 4.2 ซึ่งนอกจากจะจัดเตรียมและบริการยืมให้แล้วยังน าส่งยังจุดที่ผู้ใช้บริการได้ระบุไว้ในแบบฟอร์มเพื่ออ านวยความสะดวกแก่ผู้ใช้บริการ
รูปที่ 2 แสดงการเปรียบเทียบขั้นตอนการใช้บริการแบบ Pre-Order กับแบบ Delivery 4 You
 
     4.4 บริการการรู้สารสนเทศ (Information Literacy) บริการแนะนำการสืบค้นและการใช้สารสนเทศอย่างถูกต้องที่ได้พัฒนาจากการอบรมในห้องอบรมคอมพิวเตอร์หรือห้องเรียน และจุดให้บริการคลินิควิจัย มาเป็นการอบรมในรูปแบบออนไลน์ ที่สามารถจัดการอบรมได้ตามเวลาที่ผู้ใช้บริการสะดวกโดยจองการอบรมเข้ามาทางแบบฟอร์มออนไลน์ แล้วทางสำนักวิทยบริการจะแจ้งการนัดหมายและช่องทางสำหรับการเข้าอบรมให้กับผู้ใช้บริการต่อไป ในการให้ความรู้เกี่ยวกับการให้บริการการรู้สารสนเทศ ทางสำนักวิทยบริการไดัจัดวิทยากรให้ความรู้เกี่ยวกับฐานข้อมูลออนไลน์ จากทางกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม /ฐานข้อมูลที่ส านักวิทยบริการ จัดซื้อมาไว้ให้บริการตามความต้องการที่คณะเสนอซื้อ โดยมีฐานข้อมูลที่ให้บริการ จ านวนทั้งสิ้น ฐานข้อมูล นอกนั้นแล้ว ยังมีการการสอนการเขียนบรรณานุกรมตามมาตราฐานสากล ด้วยโปรแกรม Zetero ซึ่งเป็นโปรแกรมที่สามารถใช้งานได้ฟรี
     4.5 ตู้คืนทรัพยากรด้วยตนเอง เพื่ออำนวยความสะดวกในการรับคืนทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุด สำนักวิทยบริการจึงได้จัดทำตู้คืนหนังสือด้วยตนเองขึ้น เพื่ออำนวยความสะดวก ต่อผู้ใช้บริการที่ประสงค์จะคืนทรัพยากรสารสนเทศที่ยืมจากห้องสมุดกลาง สามารถนำทรัพยากรนั้นไปส่งคืนได้ที่ตู้คืนทรัพยากรด้วยตยเองได้ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง (7/24) ณ บริเวณที่ติดตั้งตู้คืนทรัพยากรที่อาคารเรียนรวม 5 (CLB5) โดยมีการพัฒนาตู้คืนด้วยตนเองเพื่อความสะดวกในการใช้บริการ
     4.6 พัฒนาช่องทางการประชาสัมพันธ์ รายการ Library 4 U เป็นการปรับเปลี่ยนรูปแบบการให้บริการที่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน โดยจัดการกิจกรรมส่งเสริมบริการเชิงรุก ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตในช่องทาง Facebook fan page ท ารายการ Live สด ด้วยการสร้างสรรค์เนื้อหา ตามกระแสนิยม กิจกรรม เรื่องราว ความเคลื่อนไหวต่างๆ ภายในองค์กร เพื่อสร้างความเข้าใจ ความสัมพันธ์ และความร่วมมือที่ดีในการให้บริการ สร้างแรงบันดาลใจให้ผู้รับชมรายการ พร้อมเพิ่มช่องทางการสื่อสารระหว่างผู้ใช้บริการทั้งภายในและภายนอก โดยจัด 1 เรื่องต่อเดือน
 
5. ผลการดำเนินงาน
     5.1 บริการยืมโน้ตบุ้ก/ไอแพด นับตั้งแต่ให้บริการยืมกลับบ้านได้ ( เริ่ม 12 มิถุนายน 2564 ) มีการยืมโน้ตบุ้กและไอแพด จำนวนทั้งสิ้น 355 ครั้ง และมีการจองใช้ต่ออย่างต่อเนื่องในทุกอุปกรณ์
     5.2 บริการจัดเตรียมตัวเล่มเพื่อการยืมทรัพยากรแบบออนไลน์ (Pre-order) มีผู้ใช้บริการทั้งสิ้น 75 คน ใช้บริการสารสนเทศทั้งสิ้น 377 รายการ
     5.3 บริการ Delivery 4 You มีผู้ใช้บริการ ทั้งสิ้น 56 คน ใช้บริการสารสนเทศ ทั้งสิ้น 356 รายการ
     5.4 บริการการรู้สารสนเทศออนไลน์ มีผู้เข้าร่วม 1,256 คน
     5.5 บริการตู้รับคืนทรัพยากรสารสนเทศอัตโนมัติ (อยู่ระหว่างทดสอบการทดลองใช้ข้อมูล) ที่ติดตั้งอยู่ ณ บริเวณ CLB 5
    5.6 บริการช่องทางการประชาสัมพันธ์ รายการ Library 4 U ได้รับการตอบรับด้วยดี มีผู้เข้ามาใช้บริการเป็นสมาชิก ใน Library UBU Fan page จ านวน 15,470 คน ทำให้การประชาสัมพันธ์ในกิจกรรมต่างๆ ทั่วถึงมากยิ่งขึ้น ปัจจุบันได้ดำเนินการออกอากาศไปแล้ว 20 ตอน (Episode)
 
6. สรุป
     จากการพัฒนารูปแบบการให้บริการ ทำให้ส านักวิทยบริการสามารถให้บริการกับผู้ใช้บริการได้อย่างต่อเนื่องในทุกสถานการณ์ ผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการเริ่มมีการเรียนรู้เพื่อปรับตัวต่อการให้บริการและรับบริการแบบ new normal มากขึ้น ถึงแม้ปัจจุบันการดำเนินงานจะเปิดให้บริการการใช้พื้นที่ตามปกติแล้ว แต่ทางสำนักวิทยบริการยังคงจัดให้มีบริการดังกล่าวเพื่อเป็นทางเลือกสำหรับผู้ที่ต้องการลดความเสี่ยงจากการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 อยู่ และผู้ใช้บริการสามารถใช้บริการต่าง ๆ ในระบบออนไลน์ผ่านทางเวบไซต์ของสำนักวิทยบริการ www.oar.ubu.ac.th เพื่อร่วมกันป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อ Covid 19 ตามมาตรการการป้องกันการแพร่ระบาดของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีต่อไป
 
รูปที่ 3 แสดงการให้บริการผ่านทางเวบไซต์ www.oar.ubu.ac.th
 
ดาวน์โหลดไฟล์นำเสนอ